ชิปปิ้งจีน ตามกระแสสถานการณ์การระบาดใหญ่ของ Coronavirus ซึ่งทำให้เกิดโรคระบาด COVID-19 ทั่วโลก
องค์กรต่างๆ ทั่วยุโรปและทั่วโลกไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องใช้เทคโนโลยีด้านไอทีทำงานที่บ้าน และ WFH ก็ได้กระจายไปทั่วทั้งโลก
ทว่า โซลูชั่นการทำงานระยะไกลนี้ ย่อมพบกับความเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล การเปลี่ยนแปลงเวลาปฏิบัติงาน และการทำงานภายใต้แรงกดดันที่มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ดีนัก
การบำรุงรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ที่ดี แม้จะอยู่ห่างจากที่ทำงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง Only Logistics ผู้ให้บริการชิปปิ้งจีน มีข้อมูลน่ารู้และวิธีป้องกันความเสี่ยงมาฝาก
เทคนิคเพิ่มความปลอดภัย
หน่วยงานกำกับดูแลในยุโรปหลายแห่ง รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลในสหราชอาณาจักร และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลไอริช ร่วมกันหาแนวทางจนได้ข้อสรุป ที่ช่วยลดความเสี่ยงสำหรับการทำงานทางไกล ดังต่อไปนี้
- อุปกรณ์
- ควรตรวจสอบและอัปเดตนโยบายอย่างสม่ำเสมอ
- อุปกรณ์ไม่สูญหายหรือมีการใส่ข้อมูลผิด สำหรับการใช้งานในสถานที่ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสำคัญ
- ล็อกอุปกรณ์ หากเจ้าของหรือผู้ใช้ไม่ต้องการที่จะปล่อยให้ข้อมูลถูกนำไปใช้ด้วยเหตุผลใดๆ
- ปิดล็อกหรือเก็บเอาไว้อย่างระมัดระวัง เมื่อไม่มีการใช้งานของอุปกรณ์
- มีความสามารถในการเช็คได้จากระยะไกล ในกรณีที่อุปกรณ์สูญหายหรือถูกขโมย
- ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานจากระยะไกลหรือเป็นการใช้งานผ่านเจ้าของอุปกรณ์โดยตรง ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ได้รับการปรับปรุงอย่างเต็มที่ เช่น ระบบปฏิบัติการ, ซอฟต์แวร์, โปรแกรมป้องกันไวรัสมีการอัพเดทอยู่เสมอ และการสำรองข้อมูล
- ใช้การควบคุมในการเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ตรวจสอบความถูกต้องจากหลายปัจจัยและรหัสผ่านที่รัดกุม รวมถึงการเข้ารหัสเพื่อจำกัดการเข้าถึงอุปกรณ์
- ตรวจสอบและปรับปรุงนโยบาย ตลอดจนฝึกอบรมให้กับพนักงานเพื่อ
- ปฏิบัติตามนโยบายที่บังคับใช้เกี่ยวกับ E-mail
- ใช้บัญชี E-mail ทำงานแทนบัญชีส่วนตัว
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานกำลังส่ง E-mail ไปยังผู้รับอย่างถูกต้อง
- การเข้าถึง Cloud และเครือข่าย
- ควรใช้เครือข่ายที่น่าเชื่อถือขององค์กรหรือบริการ Cloud เท่านั้น ข้อดีของระบบ Cloud คือมีความปลอดภัยสูง ข้อมูลไม่มีการสูญหาย ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินใดๆ ก็ตาม อีกทั้ง การเรียกใช้ข้อมูลยังทำได้อย่างรวดเร็ว
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลที่เก็บเอาไว้ในเครื่องได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอในด้านความปลอดภัย หากจำเป็นต้องทำงานโดยไม่ต้องเข้าถึงระบบ Cloud หรือเครือข่าย
- บันทึกลงกระดาษ
- มีการปรับปรุงและตรวจสอบอยู่เสมอ
- รักษาความปลอดภัยและความลับโดยการบันทึกลงบนกระดาษ เช่น เก็บเอกสารเหล่านั้นเอาไว้ในตู้หรือลิ้นชักและทำการล็อกเอาไว้ กรณีไม่ได้ใช้ ควรทิ้งหรือกำจัดเพื่อความปลอดภัย และทำให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจลืมทิ้งไว้หรือถูกขโมย
- ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับความปลอดภัยและการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคล
- ควรบันทึกและเซฟเป็นไฟล์เพื่อรักษาข้อมูลไม่ให้สูญหาย การเข้าถึงข้อมูล และกำกับดูแลอยู่บนความปลอดภัย
- ดำเนินการประเมินสถานที่ทำงานระยะไกล สำหรับพนักงานที่จัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพิจารณาว่าควรมีอุปกรณ์เสริความปลอดภัยเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น ตัวกรองความเป็นส่วนตัว, แล็ปท็อป เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Work From Home ได้สร้างแรงกดดันและความรวดเร็วให้กับหลายองค์กร รวมไปถึงผู้ประกอบการชิปปิ้งจีนบางราย ทั้งนี้ ฝ่ายไอทีขององค์กรจำเป็นต้องรับบทหนัก และต้องสร้างความมั่นใจด้วยว่าการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหา รวมทั้งสามารถให้บริการแก่พนักงาน และลูกค้าได้อย่างราบรื่นมากที่สุด