ชิปปิ้งจีน โลกสะอาด…เมื่อเรือขนส่งลดการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์

ชิปปิ้งจีน โลกสะอาด_OnlyLogisticsWEB ชิปปิ้งจีน ชิปปิ้งจีน โลกสะอาด…เมื่อเรือขนส่งลดการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์                          OnlyLogisticsWEB

ชิปปิ้งจีน เมื่อน้ำมันเตาสำหรับเรือ คือ น้ำมันเชื้อเพลิงหนักที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ ส่วนน้ำมันดิบประกอบไปด้วยกำมะถัน ซึ่งการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ (เรือ) จะทำให้เกิดสารซัลเฟอร์ออกไซด์ (Sox) ซึ่งมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและโรคปอด

สำหรับในชั้นบรรยากาศ ซัลเฟอร์ออกไซด์ สามารถทำปฏิกิริยาจนก่อให้เกิดฝนกรด และฝนกรดที่เกิดขึ้นนั้น อาจนำอันตรายมาสู่พืช ป่าและสัตว์น้ำ อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเป็นกรดของมหาสมุทรอีกด้วย

เป็นที่เชื่อกันว่า เมื่อมีการจำกัดการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์จากเรือ จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของอากาศและปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการออกกฎระเบียบของ IMO ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี 2005 เพื่อลดการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) จากเรือภายใต้สนธิสัญญา MARPOL (เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะจากเรือ ค.ศ. 1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 หรือ ‘อนุสัญญา MARPOL 73/78’ ถูกกำหนดขึ้นภายใต้องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2526 เพื่อช่วยป้องกันมลพิษทางทะเลที่เกิดจากเรือ) ตั้งแต่นั้นมาข้อจำกัดของซัลเฟอร์ออกไซด์ก็ดูจะเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ

ล่าสุดคือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา IMO2020 ได้กำหนดขีดจำกัดของกำมะถันในน้ำมันเตาที่ใช้บนเรือที่ให้ลดลงเหลือ 0.50% m/m เพื่อช่วยลดปริมาณของซัลเฟอร์ออกไซด์ที่เกิดจากเรือ ป้องกันปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโลก โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ใกล้กับท่าเรือและชายฝั่ง

IMO 2020  ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 5 ประการ  ดังนี้

  • ช่วยฟอกอากาศ : การปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์จากเรือโดยรวมลดลง 77%
  • เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสุขภาพของมนุษย์ : ไม่ว่าจะเป็น การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร, โรคหลอดเลือดหัวใจ, ระบบทางเดินหายใจและโรคปอดจะลดลง
  • เชื้อเพลิงมีคุณภาพสูงกว่า : เรือส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเตากำมะถันที่มีคุณภาพสูงขึ้นและสูงกว่าขีดจำกัด
  • ผู้ประกอบการ, เจ้าของเรือ และโรงกลั่นมีการปรับตัว : คำแนะนำที่ออกโดย IMO ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงโลจิสติกส์ ชิปปิ้งจีน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนตัวในเรื่องนี้ มีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมก่อนที่ IMO2020 จะมีผลบังคับใช้
  • การเปลี่ยนแปลงสำหรับหน่วยงาน (บังคับใช้) : มีการควบคุมสถานะและท่าเรือ ทำให้แน่ใจว่าการจัดส่งนั้นมีความสอดคล้องกัน

สำหรับด้านล่างนี้คือคำถามที่คุณอาจพบได้บ่อย โดยที่บางข้อนั้นเกี่ยวข้องกับขีดจำกัดของกำมะถัน

การจำกัดการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์จากเรือ มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างไร?

การจำกัดการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์จากเรือ ช่วยลดมลพิษทางอากาศและส่งผลให้สภาพแวดล้อมสะอาดขึ้น โดยการลดซัลเฟอร์ออกไซด์ ยังช่วยลดฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็กที่เป็นอันตรายและจะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อเพลิงถูกเผาไหม้

การศึกษาต่อผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ จากการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์จากเรือ ทางคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล (IMPC) ประเทศฟินแลนด์ ระบุว่า หากไม่มีการลดขีดจำกัดซัลเฟอร์ออกไซด์สำหรับเรือในปี 2020 ประชากรมากกว่า 570,000 คนจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้นทั่วโลกในระหว่างปี 2020-2025

เหตุใดเรือจึงอันตรายน้อยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น ?

แม้ว่าเรือขนส่งจะเป็นยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษที่เป็นอันตราย แต่มันก็ยังใช้ขนส่งสินค้าสำคัญจำนวนมากทั่วมหาสมุทรของโลก โดยการค้าทางทะเลยังคงเพิ่มขึ้นในปี 2016 ตามข้อมูลของ UNCTAD มีปริมาณเรือทำการค้ามากกว่า 10 พันล้านตันเป็นครั้งแรก

ดังนั้นเรือจึงเป็นวิธีที่ยั่งยืนที่สุดในการขนส่งสินค้า รวมไปถึงการนำเข้าสินค้า (ชิปปิ้งจีน) อีกทั้งเป็นรูปแบบการขนส่งที่ประหยัดพลังงานมากที่สุด เมื่อเทียบกับการขนส่งทางเครื่องบิน รถบรรทุกทางถนน และทางรถไฟ จากข้อบังคับ IMO เกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อรองรับความต้องการในการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พบว่า เรือที่สามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่าจะเผาผลาญเชื้อเพลิงได้น้อยลง จึงช่วยให้การปล่อยมลพิษทางอากาศน้อยลงด้วย

บางแหล่งข้อมูลได้กล่าวอ้างเพิ่มเติมว่า มีเรือเพียงไม่กี่ลำ (จากทั้งหมดที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณกำมะถันสูงสุดที่ได้รับการอนุญาต) ปล่อยมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายมากพอๆ กับรถยนต์ทุกคันในโลก (หากรถยนต์ทุกคันใช้เชื้อเพลิงสะอาดที่สุด) ที่สำคัญ เมื่อการค้าโลกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้เรือขนส่ง ก็จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

เรือเล็กต้องปฏิบัติตามขีดจำกัดของกำมะถันตั้งแต่ปี 2020 หรือไม่?

แน่นอนว่าระเบียบ MARPOL ถูกกำหนดให้ใช้กับเรือทุกลำ โดยเฉพาะเรือขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักรวม 400 ตันขึ้นไป และเรือทุกขนาดจะต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีค่าขีดจำกัด 0.50% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รวมไปถึงเรือเดินทางระหว่างประเทศ, ระหว่างสองประเทศหรือมากกว่านั้น หรือการเดินทางภายในประเทศแต่เพียงผู้เดียวภายในน่านน้ำของภาคีต่อภาคผนวกของสนธิสัญญา MARPOL

เรือจะบรรทุกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขนาดไหน?

เรือนับว่าเป็นเครื่องจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีเครื่องยนต์ดีเซลที่ใหญ่ที่สุดในโลกเช่นกัน สามารถพบได้ในเรือบรรทุกสินค้า เครื่องยนต์เหล่านี้มีความสูงเท่ากับบ้าน 4 ชั้นและกว้างเท่ากับรถบัสลอนดอนสามคันเรียงต่อกัน เครื่องยนต์ดีเซลทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดมีกำลังมากกว่า 1 แสนแรงม้า (ในการเปรียบเทียบรถขนาดกลาง อาจมีมากถึง 300 แรงม้า) แต่เรือคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุด สามารถบรรทุกได้มากกว่า 20,000 ตู้คอนเทนเนอร์ และเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ที่สามารถบรรทุกสินค้าได้มากกว่า 3 แสนตัน เช่น แร่เหล็ก เป็นต้น

ดังนั้นเครื่องยนต์ที่ทรงพลังจึงจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเรือผ่านทะเล และเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาว่าจะใช้พลังงานเท่าใด สำหรับการขนส่งสินค้าหรือนำเข้าสินค้า (ชิปปิ้งจีน) แต่ละตันต่อกิโลเมตร เมื่อดูประสิทธิภาพการใช้พลังงานสัมพัทธ์ของโหมดการขนส่งที่แตกต่างกัน เรือจะมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากที่สุด

เรือสามารถลดมลพิษทางอากาศ โดยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงต้องเผาผลาญเชื้อเพลิงให้น้อยลงและทำให้การปล่อยมลพิษลดลง

เรือต้องทำอะไร เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด IMO ใหม่?

เรือบางลำอาจจำกัดมลพิษทางอากาศโดยการติดตั้งระบบทำความสะอาดก๊าซไอเสียหรือที่เรียกว่า ‘เครื่องขัด’ ตัวขัดเหล่านี้ ถูกออกแบบมาเพื่อกำจัดซัลเฟอร์ออกไซด์จากเครื่องยนต์ของเรือ และก๊าซไอเสียจากหม้อไอน้ำ ดังนั้นเรือที่ติดตั้งเครื่องฟอก จึงสามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหนักได้ เนื่องจากการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์จะลดลงสู่ระดับที่เทียบเท่ากับขีดจำกัดกำมะถันน้ำมันเตา โดยเรือสามารถมีเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงต่างๆ ซึ่งอาจมีกำมะถันต่ำหรือเป็นศูนย์ได้ เช่น ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือเชื้อเพลิงชีวภาพ

น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของกำมะถันต่ำปลอดภัยหรือไม่? และทำให้เกิดปัญหากับเครื่องยนต์ของเรือได้หรือไม่?

น้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดสำหรับการเผาไหม้บนเรือ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่กำหนดไว้ใน IMO สนธิสัญญา MARPOL ภาคผนวก6 (ตามระเบียบ 18.3) เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องไม่รวมสารเพิ่มหรือขยะเคมี ที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเรือหรือส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ทั้งนี้ IMO ได้หารือถึงวิธีการระบุปัญหาด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้น ที่เกี่ยวข้องกับการผสมผสานใหม่ของน้ำมันเตา เนื่องจากทราบว่า หากเชื้อเพลิงเหล่านี้ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม อาจมีปัญหาความเข้ากันได้และความมั่นคง

อย่างไรก็ตามยังมีแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ได้ เพียงเริ่มต้นธุรกิจให้เป็นไปตาม Green Supply Chain ซึ่งช่วยให้ธุรกิจดำเนินการขนส่งได้อย่างยั่งยืนและและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ Only Logistics ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน (ชิปปิ้งจีน) มีบทความที่อยากแนะนำคือ กระแสสีเขียว Green Supply Chain เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยให้สามารถปรับตัวในทางธุรกิจขนส่งให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ IMO

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *