Shippingจีน ผู้ประกอบการนำเข้าต้องรู้ เอกสารใดบ้างต้องใช้ดำเนินธุรกิจ

Shippingจีน document_Shipping_Onlylogistics shippingจีน Shippingจีน ผู้ประกอบการนำเข้าต้องรู้ เอกสารใดบ้างต้องใช้ดำเนินธุรกิจ document Shipping OnlyWEB 768x402

Shippingจีน ปัจจุบันเอกสารที่ใช้ดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกมีความเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วน ซึ่งเอกสารแต่ละประเภทมีหน้าที่และใช้ในกรณีที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เอกสารดังกล่าว เราจะใช้ยื่นกับกรมศุลกากร ตม. ท่าเรือ ฯลฯ

สำหรับผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้า (Shipping) มือใหม่อาจรู้สึกสับสนกับเอกสารจำนวนมากในครั้งแรก จึงจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของเอกสารต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัว รวดเร็ว ไม่ติดขัด

Only Logistics ผู้นำเข้าสินค้าจากจีน (Shippingจีน) พามาทำความรู้จักกับเอกสารสำคัญ ที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้

  • PO (Purchasing Order) หรือใบสั่งซื้อสินค้า คือใบที่ผู้นำเข้า (ผู้ซื้อสินค้า) จะส่งให้ผู้ส่งออก (ผู้ขาย) เพื่อเปิดรายการสำหรับการสั่งซื้อ อย่างไรก็ตาม เอกสารฉบับนี้มีบทบาทลดลง และกลายเป็นการเขียน E-mail หรือเขียนใบ Inquiry ส่งไปหาผู้ขาย โดยส่ง PI มาให้ได้เลย ส่วนใหญ่การกระทำเช่นนี้มาจากประเทศจีน โดยเฉพาะเว็บไซต์ช้อปปิ้งดังๆ อย่าง Alibaba ทำให้ผู้ประกอบการหรือผู้นำเข้า-ส่งออก สะดวกมากยิ่งขึ้น
  • PI (Proforma Invoice) คือ ใบเรียกเก็บเงิน แสดงรายละเอียดของราคาสินค้า ซึ่งผู้ส่งออกจะออกใบนี้ให้กับผู้นำเข้าสินค้า โดยใบ PI นี้สามารถใช้แทน PO ตามที่ได้กล่าวเอาไว้ก่อนหน้านี้
  • PL (Packing List) รายการบรรจุสินค้า คือ เอกสารสำหรับแจ้งว่าสินค้าใดถูกบรรจุ หรือ Packing มาแบบใด อยู่ในกล่องใด ถือเป็นเอกสารที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการหรือบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Shipping จะต้องเก็บเอกสารฉบับนี้เอาไว้ให้ดี หากทำหายขึ้นมา จะทำให้ระบุสินค้าได้ยากมาก ก่อให้เกิดปัญหาตามมาและเสียเวลาอีกด้วย
  • CI (Commercial Invoice) เป็นเอกสารที่ผู้ส่งออกจะต้องออกใบนี้ให้กับผู้นำเข้า เพื่อแนบไปกับเอกสารอื่นๆ ใช้สำหรับออกของกับกรมศุลกากร เป็นเอกสารที่สำคัญที่ผู้ประกอบการหรือบริษัทให้บริการ Shipping จำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ ข้อมูลเพิ่มเติมในทางปฏิบัติ เนื่องจากอาจเกิดปัญหาต่างๆ กับทางกรมศุลกากรได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนำเข้า หรือเป็นเรื่องของภาษี
  • B/L (Bill of Lading) ใบตราส่งสินค้าทางเรือ คือ ใบที่ผู้ส่งออกต้องออกข้อมูลกับทางผู้ให้บริการขนส่ง (บริษัทขนส่ง) เพื่อออกเอกสารฉบับนี้ ขณะเดียวกันผู้นำเข้าจำเป็นจะต้องใช้และตรวจสอบแบบร่าง ก่อนที่จะออกเป็นเอกสารฉบับจริงออกมา เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เป็นใบสำคัญสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการ Shipping
  • AWB (Airway Bill) ใบตราส่งทางอากาศ เป็นใบคล้ายๆ กับใบตราส่งสินค้าทางเรือ เพียงแต่ข้อมูลบางส่วนนั้นมีความแตกต่างกัน
  • D/O (Delivery Order) ใบปล่อยสินค้า คือ ใบที่ผู้นำเข้าต้องใช้สำหรับนำไปปล่อยตู้สินค้าที่ท่าเรือหรือท่าอากาศยาน ผู้ที่ออกใบนี้ให้คือผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ดังนั้น เอกสารใบนี้จึงความสำคัญอย่างมาก ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการ Shipping ต้องดูรายละเอียดของเอกสารให้ดี
  • Export / Import Entry หรือ ใบขนสินค้าขาออก / ขาเข้า เป็นเอกสารในการแจ้งข้อมูลของสินค้า ประเภทของสินค้า ราคา จำนวน เพื่อแสดงรายละเอียดดังกล่าวให้กับกรมศุลกากรทราบ เพื่อนำข้อมูลที่ว่านี้ไปคำนวณภาษีและจัดเก็บข้อมูลนำเข้า-ส่งออก มักจะดำเนินการโดยผู้ให้บริการ Shipping
  • Marine / Air Insurance ประกันภัยขนส่งสินค้า คือ ใบสำคัญนี้ที่ถือว่าบริษัท Shipping ทุกบริษัทควรมีระบบประกันสินค้า เพราะการทำประกันจะช่วยลดความเสียหายและลดความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า โดยส่วนใหญ่มีความคุ้มครองสูงสุดอยู่ที่ 90% ของมูลค่าสินค้า
  • CO (Certificate of Original) เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด ถือเป็นเอกสารที่แจ้งรายละเอียดว่าสินค้านั้นมีแหล่งผลิตมาจากที่ไหน เข้ากับข้อกำหนดการยกเว้นหรือลดภาษีหรือไม่ ดังนั้นผู้ให้บริการ Shipping ควรศึกษากันให้มากๆ เพราะเอกสารสำคัญฉบับนี้ช่วยลดต้นทุนการนำเข้าและส่งออกได้อย่างมหาศาล

เอกสารสำคัญทั้งหมดที่ผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าควรศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะเอกสารแต่ละประเภทนั้นทำหน้าที่แตกต่างกัน และใช้ยื่นเพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกันออกไป ทั้งยังมีรายละเอียดมากมาย อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดแล้วก็จำเป็นต้องใช้เอกสารเหล่านี้อยู่บ่อยๆ หากมีความเข้าใจ ก็จะช่วยให้การดำเนินการจัดการกลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

หรือเลือกใช้บริการผู้นำเข้าสินค้าซึ่งมีบริการครอบคลุมทั้งเรื่องเอกสารและการยื่นเรื่องผ่านกรมศุลกากร เรื่อง Shippingจีน ไว้ใจ Only Logistics นอกจากเรื่องเอกสารที่สำคัญแล้ว ยังมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำประกันขนส่งระหว่างประเทศ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Shippingจีน ทำไมจึงควรทำประกันภัยขนส่ง ระหว่างประเทศ?

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *