ชิปปิ้ง 6 กลยุทธ์แผนการตลาด ดันธุรกิจโลจิสติกส์ให้รุ่งตามเป้าหมาย!

ชิปปิ้ง 6 แผนการตลาด ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 6 กลยุทธ์แผนการตลาด ดันธุรกิจโลจิสติกส์ให้รุ่งตามเป้าหมาย! 6                                onlylogisticsWEB

ชิปปิ้ง ตามติดเทรนด์การตลาด เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาบริษัทรูปแบบ B2B (Business to Business) หลายแห่ง รวมไปถึงธุรกิจโลจิสติกส์ ต่างเริ่มมีการวางแผนพัฒนาทางการตลาดหรือปรับปรุงแผนเดิมจากปีก่อนๆ

เพื่อปรับกลยุทธ์ให้ทันสมัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

สำหรับบริษัทโลจิสติกส์หรือผู้ให้บริการชิปปิ้งที่รับผิดชอบการขนส่งสินค้าจากจุด A ไปยังจุด B ในการพัฒนากแผนการตลาดถือว่าเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและมีรายละเอียด ประกอบไปด้วยการเชื่อมโยงมากมายที่ประกอบกันเป็นห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งแผนการตลาดนั้นจะรอดหรือรุ่ง ทำได้ด้วยการวัดผลจาก ROI (Return on Investment : การวัดผลตอบแทนจากการลงทุน) ที่สูงขึ้นและยอดขายเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม Only Logistics ได้รวบรวมกลยุทธ์ต่อไปนี้เป็น 6 ขั้นตอนการวางแผนการตลาดที่บริษัทโลจิสติกส์ควรทำตาม เพื่อพัฒนาแผนการตลาดที่ดี

  1. กำหนดข้อเสนอให้บริการที่เหมาะสม

คุณเป็นผู้ส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานหรือส่งมอบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้กับผู้บริโภคหรือไม่? คุณใช้การขนส่งแบบใด? คุณขนส่งสินค้าภายในประเทศหรือทั่วโลก? คุณให้บริการเทคโนโลยีหรือการติดตามรูปแบบใด?

คำถามข้างต้นเหล่านี้ ล้วนเป็นคำถามที่สำคัญ เพราะฉะนั้น เจ้าของธุรกิจต้องมีข้อเสนอที่ชัดเจน เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ หลีกเลี่ยงการให้สัญญาที่เกินจริงหรือบริการที่ขายไม่ได้สำหรับลูกค้า

  1. ระบุตลาดหลักและตลาดรอง

เพราะตลาดมักเปลี่ยนไปตามกาลเวลา สถานการณ์ และความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ เจ้าของธุรกิจจึงควรมีการประเมินตลาดหลักและตลาดรอง เพื่อช่วยให้คุณสามารถปรับงบประมาณทางการตลาดและเป้าหมายได้ดีขึ้น และมีผลกำไรของ ROI เพิ่มขึ้นให้กับธุรกิจด้วย

  1. วิเคราะห์คู่แข่งขัน

ใครคือคู่แข่งขันระดับ 1 และ 2 และ 3 ของคุณ? คุณเสนออะไรที่คู่แข่งขันของคุณไม่สามารถทำได้บ้าง? คุณเสนอให้แตกต่างหรือดีกว่าอย่างไร? เช่น การแข่งขันของคุณใช้แผนกจัดส่งสินค้าของตัวเองหรือผู้ให้บริการเชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกัน ประโยชน์หรือความท้าทายของแต่ละรายการเป็นอย่างไร?

เชื่อเถอะว่า ทุกบริษัทย่อมมีการแข่งขัน แม้ว่าธุรกิจของคุณอาจไม่สามารถระบุการแข่งขันได้ชัดเจน แต่การแข่งขันตามบริบทยังคงมีอยู่ เพราะฉะนั้น ควรวิเคราะห์อย่างละเอียดเกี่ยวกับคู่แข่งขันในตลาด เพื่อนำมาปรับแต่งกลยุทธ์และการดำเนินงานให้ไปไกลกว่าคู่แข่ง

  1. ขายจุดเด่นให้ตรงจุดและตรงกลุ่ม

เมื่อคุณได้ประเมินผลการแข่งขันแล้ว ให้กำหนดว่าอะไรที่ทำให้บริษัทของคุณนั้นโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่ง หากคิดไม่ออก วิธีเริ่มต้นที่ดีคือ ‘การตั้งคำถาม’ เช่น สิ่งที่ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุดในบริการของคุณคืออะไร ลูกค้าได้พูดอะไรเกี่ยวกับบริการนี้บ้าง ฯลฯ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง จากนั้น จึงนำเสนอความแตกต่างเหล่านี้ ถ่ายทอดไปยังลูกค้าในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน อาจมีการโฆษณาเพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น 

  1. จัดสรรงบประมาณทางการตลาด

กำหนดงบประมาณหรือจำนวนเงินที่ต้องการใช้จ่ายด้านการตลาดโดยแบ่งเป็นส่วนๆ เพื่อให้สามารถกระจายงบประมาณในบางตลาดหรือส่งเสริมบริษัทโดยรวม กลยุทธ์และเป้าหมายทางการตลาด ขึ้นอยู่กับจุดเน้นทางการตลาดหลักของบริษัทนั้นๆ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสร้างมุมมองที่ชัดเจน ตามรายงานส่วนผสมทางการตลาดแบบ B2B ปี 2019 รายงานว่า บริษัท B2B เกือบ 40% ใช้งบประมาณ 10% หรือมากกว่าในการทำตลาด

  1. พัฒนาแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์

เมื่อกำหนดงบประมาณเสร็จสิ้นแล้ว ให้พิจารณาช่องทางการตลาด ที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น จะลงโฆษณาช่องทางไหนหรือจะออกงานโชว์ในอุตสาหกรรมใดบ้าง เป้าหมายทางการตลาดของคุณคืออะไร? กำลังสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์หรือสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า การมีแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน ถือเป็นความสำเร็จของบริษัทโลจิสติกส์หรือผู้ให้บริการชิปปิ้งปรารถนา

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *